กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้

การขอใบอนุญาตทำงาน

กำหนดให้การขอใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้เป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ต้องการต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง หากยังอยู่ต่อจะถือว่าทำผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

● นายจ้าง: ปรับ 10,000 – 100,000/ลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สอง ปรับ 50,000 – 200,000/ลูกจ้าง 1 คน
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี

● ลูกจ้าง: ปรับ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ

การคุ้มครองลูกจ้าง

แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกับแรงงานไทย เพื่อให้ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

● ค่าแรงขั้นต่ำ
แรงงานต่างด้าวจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับแรงงานไทย ซึ่งแต่ละจังหวัดมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกัน นายจ้างควรตรวจสอบข้อมูลให้ดี

ว่าจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นเท่าไหร่

● กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัด 15% ต่อปี

● กรณีเปลี่ยนนายจ้าง
หากมีการเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ลูกจ้างเคยได้รับจากนายจ้างเดิม

● กรณีบอกเลิกสัญญา
หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล

● กรณีหยุดกิจการชั่วคราว
หากนายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง

● การลากิจ
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และจะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี

● การลาคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยนายจ้างจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน

● ความเท่าเทียมของลูกจ้างชายและหญิง
ลูกจ้างชายและหญิงต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

หากงานที่ทำมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน

ที่มา : กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

Spread the love

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า