โดย gmgadmin | ก.ย. 26, 2023 | ข่าวสาร
ลูกจ้างต่างด้าว ตามมติ ครม. 5 กรกฎา 2566 ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตน
ลูกจ้างต่างด้าว ที่เข้าทำงาน เดือนกรกฎาคม และสิงหาคม ให้ขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบ ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2566
แยกแบบส่งเงินสมทบ (แบบ สปส.1-10) ของลูกจ้างกลุ่มมติ ครม. 5 กรกฎาคม 2566 ของงวดเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม 2566
ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบ ก่อนชำระเงินสมทบ
หากนายจ้างได้นำส่งเงินสมทบและชำระเงินเพิ่มงวดเดือนกรกฎาคม และ /หรือเดือนสิงหาคม 2566 ให้แก่ลูกจ้างตามมติ ครม. 5 กรกฎาคม 2566แล้ว ให้ติดต่อขอรับเงินเพิ่มคืนที่สำนักงานประกันสังคมทั่วประเทศ ทั้งนี้ การชำระเงินดังกล่าว ต้องเป็นการชำระภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2566 เท่านั้น
หมายเหตุ : ตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องการดำเนินการขึ้นทะเบียนลูกจ้างแรงงานต่างด้าว (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 ลงวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ.2566 กำหนดให้ขึ้นทะเบียนลูกจ้างต่างด้าวตามมติ ครม. 5 กรกฎาคม 2566 ภายในวันที่ 5 ตุลาคม 2566 กรณีลูกจ้างเข้าทำงาน ตั้งแต่วันที่ 6 ตุลาคม 2566
ให้แจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ลูกจ้างเข้าทำงาน
ที่มา : สำนักงานประกันสังคม
โดย gmgadmin | ก.ย. 13, 2023 | ข่าวสาร
กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้
การขอใบอนุญาตทำงาน
กำหนดให้การขอใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้เป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ต้องการต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง หากยังอยู่ต่อจะถือว่าทำผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้
● นายจ้าง: ปรับ 10,000 – 100,000/ลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สอง ปรับ 50,000 – 200,000/ลูกจ้าง 1 คน
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี
● ลูกจ้าง: ปรับ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ
การคุ้มครองลูกจ้าง
แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกับแรงงานไทย เพื่อให้ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี
● ค่าแรงขั้นต่ำ
แรงงานต่างด้าวจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับแรงงานไทย ซึ่งแต่ละจังหวัดมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกัน นายจ้างควรตรวจสอบข้อมูลให้ดี
ว่าจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นเท่าไหร่
● กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัด 15% ต่อปี
● กรณีเปลี่ยนนายจ้าง
หากมีการเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ลูกจ้างเคยได้รับจากนายจ้างเดิม
● กรณีบอกเลิกสัญญา
หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล
● กรณีหยุดกิจการชั่วคราว
หากนายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง
● การลากิจ
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และจะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี
● การลาคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยนายจ้างจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
● ความเท่าเทียมของลูกจ้างชายและหญิง
ลูกจ้างชายและหญิงต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด
หากงานที่ทำมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน
ที่มา : กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว
โดย gmgadmin | ก.ย. 11, 2023 | ข่าวสาร
ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย.นี้
ไทยหารือเมียนมา อำนวยความสะดวกแรงงาน MOU ครบ 4 ปี
พร้อมดำเนินการ ตั้งแต่ 11 ก.ย. 66 ที่เมียวดีและเกาะสอง
กรมการจัดหางาน หารือทางการเมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว
และเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI
นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 กรมการจัดหางาน ประชุมหารือร่วมกับท่านมอง มอง ตาน อธิบดีกรมแรงงาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และคณะ ผ่านระบบ Video Conference เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแรงงานเมียนมาตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในประเด็น ดังนี้
1. การอำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี ให้กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว โดยแรงงานที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปีในปีนี้ ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถกลับเข้ามาทำงานครั้งใหม่ โดยที่ระยะเวลาในการเดินทางกลับเมียนมาไม่ต้องถึง 30 วัน และสามารถดำเนินการลงนามสัญญาจ้างได้ในบริเวณแนวชายแดนฝั่งเมียนมา ณ เมืองเมียวดี และ เกาะสอง
2. ฝ่ายเมียนมาแจ้งให้ทราบว่าสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2566 โดยพิจารณาอนุมัติบัญชีรายชื่อมาแล้ว จำนวน 171 คน
3. การเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI ฝ่ายเมียนมามีความพร้อมที่จะดำเนินการออกเอกสาร CI ให้กับแรงงานเมียนมาจำนวนมากที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ภายหลังจากที่ฝ่ายไทย ได้เสนอแนวทางการดำเนินการให้กับคณะรัฐมนตรีพิจารณา
“รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้แรงงานตาม MOU ที่ครบ 4 ปี ได้ทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยต่อไป โดยมีแนวทางดำเนินการด้านนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิและการคุ้มครองตามกฎหมายไทย” นายไพโรจน์ กล่าว
ที่มา thaigov.go.th
โดย gmgadmin | ก.ย. 6, 2023 | ข่าวสาร
7 ความคุ้มครอง ตามสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว
เงื่อนไขการคุ้มครองชาวต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้
- จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
- จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity)
และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
- หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองไทยแต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย
นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชาวต่างด้าวไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม คือ ชาวต่างด้าวที่เป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ หาบเร่ และการค้าแผงลอย ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี หรือมีลักษณะการทำงานเป็นแบบครั้งคราว
สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้
- กรณีคลอดบุตร
- กรณีการสงเคราะห์บุตร
- กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
- กรณีทุพพลภาพ
- กรณีชราภาพ
- กรณีว่างงาน
- กรณีเสียชีวิต
โดย gmgadmin | ส.ค. 31, 2023 | ข่าวสาร
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนของแรงงานต่างด้าว
แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและนำส่งเงินสมทบตามกฎหมาย
นายจ้าง/สถานประกอบการ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวดังกล่าว โดยมีเอกสารประกอบคือใบอนุญาตงาน (Work Permit)
และหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ทางสำนักงานประกันสังคมจึงขอให้นายจ้าง/สถานประกอบการทราบว่า
แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว รีบแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและนำส่งเงินสมทบให้ครบถ้วน ภายในระยะเวลา 30 วัน
นับจากวันที่ได้หลักฐานครบถ้วนจากกรมจัดหางาน