ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย. นี้

ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย. นี้

ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย.นี้

ไทยหารือเมียนมา อำนวยความสะดวกแรงงาน MOU ครบ 4 ปี
พร้อมดำเนินการ ตั้งแต่ 11 ก.ย. 66 ที่เมียวดีและเกาะสอง

กรมการจัดหางาน หารือทางการเมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว
และเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 กรมการจัดหางาน ประชุมหารือร่วมกับท่านมอง มอง ตาน อธิบดีกรมแรงงาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และคณะ  ผ่านระบบ Video Conference เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแรงงานเมียนมาตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในประเด็น ดังนี้
1. การอำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี ให้กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว โดยแรงงานที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปีในปีนี้ ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถกลับเข้ามาทำงานครั้งใหม่ โดยที่ระยะเวลาในการเดินทางกลับเมียนมาไม่ต้องถึง 30 วัน และสามารถดำเนินการลงนามสัญญาจ้างได้ในบริเวณแนวชายแดนฝั่งเมียนมา ณ เมืองเมียวดี และ เกาะสอง
2. ฝ่ายเมียนมาแจ้งให้ทราบว่าสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2566 โดยพิจารณาอนุมัติบัญชีรายชื่อมาแล้ว จำนวน 171 คน 
3. การเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI ฝ่ายเมียนมามีความพร้อมที่จะดำเนินการออกเอกสาร CI ให้กับแรงงานเมียนมาจำนวนมากที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ภายหลังจากที่ฝ่ายไทย ได้เสนอแนวทางการดำเนินการให้กับคณะรัฐมนตรีพิจารณา
“รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้แรงงานตาม MOU ที่ครบ 4 ปี ได้ทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยต่อไป โดยมีแนวทางดำเนินการด้านนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิและการคุ้มครองตามกฎหมายไทย” นายไพโรจน์ กล่าว

ที่มา  thaigov.go.th

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

 

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

 

แรงงานต่างด้าวนำเข้าโดยระบบ MOU คือ แรงงานต่างด้าวที่ถูกนำเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
ภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม
แรงงานต่างด้าวที่เข้าระบบ MOU จะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด และมีเอกสารประจำตัวครบถ้วน

การนำเข้าแรงงานภายใต้ข้อตกลง MOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้
อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ ได้อีกด้วย โดยนำเข้าแรงงาน MOU มีข้อดีดังนี้

  1. แรงงานที่เข้ามาในประเทศอย่างถูกกฎหมาย

  2. สามารถนำเข้ามาได้จำนวนมาก

  3. สามารถกำหนดทักษะ และความสามารถ แรงงานที่ต้องการได้

  4. เสียค่าใช้จ่ายน้อย

  5. ไม่มีความเสี่ยง

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าว MOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าว MOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

 

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าว MOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

 

รงงานต่างด้าว MOU

คือ แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกกฎหมาย ตามเอกสาร หรือหนังสือที่มีการบันทึก ข้อตกลง (Memorandum of Understanding หรือ MOU) ซึ่งแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม เป็นแรงงานภายใต้ข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศต้นทางทั้ง 4 นายจ้างจะต้องยื่นคำขอ แรงงานต่างด้าว โดยระบุคุณสมบัติของแรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็น เพศ จำนวนแรงงาน หรือ ทักษะในการทำงาน

 

รงงานต่างด้าว บัตรชมพู

คือ แรงงานที่ได้รับการผ่อนผัน ให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีใบอนุญาตทำงาน​ (บัตรชมพู) ทั้งนี้เมื่อใบอนุญาตหมดอายุ แล้วไม่ได้ดำเนินการต่ออายุ แรงงานต่างด้าวจะต้อง เดินทางกลับประเทศของตน โดยการต่ออายุเป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวสามารถทำ MOU
ในประเทศไทยได้เลย ไม่ต้ออองเสียเวลาเดินทางกลับประเทศต้นทาง

RE-MOU สัญชาติพม่า

RE-MOU สัญชาติพม่า

RE-MOU สัญชาติพม่า

ปรับสถานะแรงงานต่างด้าวให้ถูกกฎหมาย

 

เอกสารสำคัญที่ต้องใช้สำหรับยื่นปรับสถานะแรงงาน

สำหรับนายจ้าง

บุคคลธรรมดา

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • รูปถ่ายกิจการ 3 รูป
  • แผนที่ตั้ง

นิติบุคคล

  • หนังสือรับรองบริษัท (อายุไม่เกิน 3 เดือน)
  • สำเนาบัตรประชาชน (ผู้มีอำนาจลงนาม)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้มีอำนาจลงนาม)
  • แผนที่ตั้งกิจการ

กรณีไม่ใช่เจ้าของบ้าน

  • สำเนาบัตรประชาชน (เจ้าบ้าน)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (เจ้าบ้าน)
  • หนังสือยินยอมให้ใช้สถานที่

กรณีเช่าสถานที่

  • สัญญาเช่า
  • สำเนาบัตรประชาชน (ผู้ให้เช่า)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ให้เช่า)
  • แผนที่

กรณีรับเหมาก่อสร้าง

  • สำเนาบัตรประชาชนคู่สัญญา (ผู้ว่าจ้าง)
  • สำเนาทะเบียนบ้านคู่สัญญา (ผู้ว่าจ้าง)
  • สำเนาสัญญาว่าจ้างรับเหมาก่อสร้าง (อายุไม่ต่ำกว่า 2 ปี)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน หรือ โฉนดที่ดิน สถานที่ก่อสร้างในสัญญา
  • แผนที่สถานที่ก่อสร้าง

กรณีเป็นกิจการอื่นๆ
ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม เช่น สัญญาเช่าแผง,ทะเบียนการค้า เป็นต้น

  • ค้าขาย,แผงลอย
  • ร้านอาหาร
  • การเกษตร
  • กิจการอื่นๆ

 

สำหรับแรงงาน

  • สำเนาหนังสือเดินทาง (Passport)
  • รูปถ่าย 1.5 นิ้ว

 

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

วันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ 2/2561 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน  นางเพชรรัตน์ สินอวย  อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เป็นต้น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ บริเวณตลาดทะเลไทย เพื่อจัดเก็บข้อมูลเฉพาะแรงงานเมียนมา ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แรงงานเมียนมาที่ต้องการเปลี่ยนเอกสารประจำตัวเป็นหนังสือเดินทาง (กลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติหรือจัดทำทะเบียนประวัติในประเทศไทยที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport : TP) และเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI)) โดยทางการเมียนมาใช้คำว่า กลุ่มคน Function A และกลุ่มที่ 2 แรงงานเมียนมา ตาม MOU ที่ต้องการจัดทำเป็นหนังสือเดินทางฉบับใหม่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้กับแรงงานเมียนมาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานตาม MOU เมื่อวาระการจ้างงานครบ ๔ ปี แล้วโดยทางการเมียนมา ใช้คำว่ากลุ่มคน Function B โดยกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มจะต้องยื่นเอกสารตามที่ทางการเมียนมากำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงจะสามารถขอรับหนังสือเดินทางได้ที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทยหรือ ศูนย์ออกหนังสือเดินทางบริเวณชายแดนแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก, แม่สอด – เมียวดี และระนอง – เกาะสอง  โดยวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯคือ การเก็บข้อมูลของแรงงานเมียนมาที่ขอหนังสือเดินทาง ซึ่งจะเปิดดำเนินการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี เปิดทำงานวันจันทร์ – วันเสาร์ เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการไทยกำหนด ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. หรือจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาความเหมาะสมของประเทศต้นทางเพื่อกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศต้นทางเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทย โดยพิจารณาเห็นชอบให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยต้องเป็นคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศคู่ภาคีที่รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) หากปรากฏว่ามีกำลังแรงงานของคนต่างด้าวของประเทศคู่ภาคีไม่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว เห็นควรให้มีการพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศที่เหมาะสมเพิ่มเติม ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน จะนำเรื่องการเปิดศูนย์เพื่อเก็บข้อมูลแรงงานชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร และมาตรการในการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

พลเอก ประวิตรฯ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลนั้น ขณะนี้มีผลการนำเข้าแรงงานประมงตาม MOU จากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) ดังนี้ 1. นายจ้างจำนวน ๑,๒๔๔ ราย ยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานจำนวน ๑๔,๔๙๖ คน (เมียนมา ๘,๕๑๓ คน ลาว ๔๗๘ คน กัมพูชา ๕,๕๐๕ คน) 2. กระทรวงแรงงานจัดส่งเรื่องไปดำเนินการที่สถานทูต จำนวน ๙,๗๖๘ คน (เมียนมา ๔,๖๔๖ คน ลาว ๓๕๔ คน กัมพูชา ๔,๗๖๘ คน) 3. นายจ้างยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวจำนวน ๑,๙๓๒ คน (เมียนมา ๘๗ คน ลาว ๖๗ คน กัมพูชา ๑,๗๗๘ คน) ขณะที่การดำเนินมาตรการเร่งด่วนชั่วคราวในการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ซึ่งกรมประมงได้เปิดให้นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ – ๒๖ พฤศจิกายน 2561 ณ 22 จังหวัดชายทะเล มีผลการดำเนินการคือ นายจ้างมาแจ้งความต้องการ จำนวน ๗๕๔ ราย แจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ๑๖,๓๕๑ คน

ที่มา https://www.doe.go.th

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า