ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว แบบ MOU

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว แบบ MOU

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าว แบบ MOU

• แรงงานเข้ามาในประเทศอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
• สามารถนำเข้าได้มาจำนวนมาก
• สามารถกำหนดทักษะ ความสามารถ แรงงานที่ต้องการได้
• เสียค่าใช้จ่ายน้อย
• ไม่มีความเสี่ยง

🔸รายละเอียด

– แรงงานถูกต้องตามกฎหมาย มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป
– แรงงานมีสัญญาผูกมัดกับบริษัท 2 ปี และต่ออายุได้ 2 ปี รวม 4 ปี

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าวMOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าวMOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

ความแตกต่างระหว่าง แรงงานต่างด้าวMOU และ แรงงานต่างด้าวบัตรชมพู

✅ แรงงานต่างด้าว MOU

คือ แรงงานที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยแบบถูกกฎหมาย ตามเอกสาร หรือหนังสือ ที่มีการบันทึก ข้อตกลง (Memorandum of Understanding หรือ MOU)ซึ่งแรงงานต่างด้าวสัญชาติ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม เป็นแรงงานภายใต
“ข้อตกลงร่วมกันระหว่างรัฐบาลไทยและประเทศต้นทางทั้ง 4 นายจ้างจะต้องยื่นคำขอแรงงานต่างด้าว โดยระบุคุณสมบัติของแรงงานได้ ไม่ว่าจะเป็น เพศ จำนวนแรงงานหรือ ทักษะในการทำงาน

✅ แรงงานต่างด้าว บัตรชมพู

คือ แรงงานที่ได้รับการผ่อนผัน ให้อาศัยอยู่ในประเทศไทย และมีใบอนุญาตทำงาน (บัตรชมพู) ทั้งนี้เมื่อใบอนุญาตหมดอายุ แล้วไม่ได้ดำเนินการต่ออายุ แรงงานต่างด้าวจะต้องเดนทางกลับประเทศของตน โดยการต่ออายุเป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือแรงงานต่างด้าวสามารถทำ MOU ในประเทศไทยได้เลยไม่ต้ออองเสียเวลาเดินทางกลับประเทศต้นทาง

กรมการจัดหางาน รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน

กรมการจัดหางาน รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน

กรมการจัดหางาน🎉
รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงานประเภทอุตสาหกรรมการผลิต🇰🇷
👥จำนวน 1,500 อัตรา
🧑‍🦳เพศชาย อายุระหว่าง 18 -39 ปี
📍ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2567
👏สนใจ สมัครได้ที่เว็ปไซต์ toea.doe.go.th
🏢ศูนย์สอบมี 2 ศูนย์
ศูนย์สอบกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดจำนวนผู้สมัคร 🏢ศูนย์สอบจังหวัดอุดรธานี จำนวน 2,400 คน

ข้อมูล: กรมการจัดหางาน

แถลงผลปฏิบัติการ “เจอ จับ ปรับ ผลักดัน” คนต่างชาติทำงานผิดกฎหมาย

แถลงผลปฏิบัติการ “เจอ จับ ปรับ ผลักดัน” คนต่างชาติทำงานผิดกฎหมาย

แถลงผลปฏิบัติการ “เจอ จับ ปรับ ผลักดัน” คนต่างชาติทำงานผิดกฎหมาย

กระทรวงแรงงาน ร่วมกับ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน เร่งลงพื้นที่ตรวจสอบแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายทั่วประเทศ หลังรับนโยบาย รมว. แรงงาน เผยผลการปฏิบัติการวันแรก ตรวจสอบสถานประกอบการ 356 แห่ง ดำเนินคดี 41 แห่ง ตรวจสอบคนต่างชาติ 6,400 คน ดำเนินคดี 142 คน

นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า หลังจากการมอบนโยบายแก่เจ้าหน้าที่ด้านการตรวจสอบการทำงานของแรงงานข้ามชาติ ซึ่งประกอบด้วยกระทรวงแรงงาน โดยกรมการจัดหางาน สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว กองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ และกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน กำลังพลจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ ได้ออกปฏิบัติการโดยพร้อมเพรียงกัน เพื่อตรวจสอบ จับกุม และดำเนินคดีนายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างชาติ ที่ลักลอบทำงานผิดกฎหมาย ควบคู่กับประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้นายจ้าง/สถานประกอบการ และคนต่างชาติ มีความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของคนต่างด้าว และมติครม.ในคราวต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง โดยผลการปฏิบัติการวันแรก ในวันที่ 5 มิถุนายน 2567 จากกองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน สำนักงานจัดหางานจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด และสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครทั้ง 10 พื้นที่ มีการเข้าตรวจสอบสถานประกอบการที่จ้างแรงงานข้ามชาติทั่วประเทศจำนวน 356 แห่ง ดำเนินคดี 41 แห่ง ในจำนวนนี้กระทำผิดข้อหารับคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงาน 38 ราย ไม่แจ้งเข้า – แจ้งออกการทำงานของคนต่างด้าว 3 ราย และตรวจสอบคนต่างชาติ จำนวน 6,400 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 4,812 คน กัมพูชา 887 คน ลาว 621 คน เวียดนาม 9 คน และสัญชาติอื่น ๆ 71 คน มีการดำเนินคดีทั้งสิ้น 142 คน แยกเป็นสัญชาติเมียนมา 72 คน กัมพูชา 35 คน ลาว 24 คน เวียดนาม 2 คน และสัญชาติอื่น ๆ 9 คน ในจำนวนนี้กระทำผิดข้อหาเป็นคนต่างด้าวทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิจะทำได้ 140 คน ไม่แจ้งการเข้าทำงานต่อนายทะเบียน 2 คน

ด้านนายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวว่า แรงงานต่างชาติที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยต้องเคารพกฎหมายของเรา เช่นเดียวกับที่เวลาคนไทยไปทำงานในต่างประเทศก็ต้องเคารพกฎหมายของประเทศนั้น ๆ โดยแรงงานต่างชาติต้องมีเอกสารประจำตัวบุคคลและใบอนุญาตทำงานถูกต้อง และทำงานตามสิทธิ ที่ระบุไว้ในประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ (มีทั้งสิ้น 40 งาน) รวมทั้งปฏิบัติตามขั้นตอนที่มติครม.ในคราวต่าง ๆ กำหนดไว้ภายในระยะเวลาที่กำหนดเพื่อให้สามารถทำงานและอยู่ในราชอาณาจักรอย่างถูกต้องตามกฎหมาย โดยไม่ต้องหลบซ่อนและได้รับการคุ้มครองตามสิทธิที่พึงมี

ทั้งนี้ ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม คนต่างด้าวที่ทำงานโดยไม่มีใบอนุญาตทำงานหรือทำงานนอกเหนือจากสิทธิที่ทำได้ มีโทษปรับตั้งแต่ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศต้นทาง รวมทั้งไม่สามารถขอรับใบอนุญาตทำงานได้จนกว่าจะพ้นโทษมาแล้วเป็นระยะเวลา 2 ปี และนายจ้าง/สถานประกอบการที่รับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทำงาน หรือให้คนต่างด้าวทำงานนอกเหนือจากที่มีสิทธิ มีโทษปรับตั้งแต่ 10,000 – 100,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน หากกระทำผิดซ้ำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 50,000 – 200,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้างหนึ่งคน และห้ามจ้างคนต่างด้าวทำงานเป็นเวลา 3 ปี

ที่มา กรมการจัดหางาน

รู้หรือไม่ แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานขายของหน้าร้าน ต้องทำบัตรขายของหน้าร้าน

รู้หรือไม่ แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานขายของหน้าร้าน ต้องทำบัตรขายของหน้าร้าน

รู้หรือไม่ แรงงานต่างด้าว ที่ทำงานขายของหน้าร้าน ต้องทำบัตรขายของหน้าร้าน

ข้อมูลจาก กรมการจัดหางาน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า