บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา

บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา

บริการนำเข้าแรงงานต่างด้าว MOU สัญชาติพม่า ลาว กัมพูชา

Return mou แรงงาน

พร้อมการดำเนินการด้านเอกสารวีซ่าทำงานของแรงงานอย่างครบถ้วน
https://www.gmgmou.com/
ติดต่อเรา
บริษัท นำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ จี.เอ็ม.จี.กรุ๊ฟ จำกัด
ใบอนุญาตเลขที่ บจ.0154/2561
Phone : 034-112568 สำนักงานใหญ่
~ 083-1310264 (คุณเปิ้ล)
~ 084-0999824 (คุณเต้)
~ 082-4255553
กด0 ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์
กด1 ต่ออายุแรงงาน
กด2 ฝ่ายMOU
กด3 ฝ่ายแจ้งเข้า-แจ้งออก
กด4 ฝ่ายบัญชี
กด5 ฝ่ายกฎหมาย
 Facebook: m.me/111810180274456
 Line: @MOUTHAI
 clmv@gmgmou.com

บริการนำเข้า แรงงานต่างด้าว mou ให้ปรึกษาฟรี

บริการนำเข้า แรงงานต่างด้าว mou ให้ปรึกษาฟรี

บริการนำเข้า แรงงานต่างด้าว mou ให้ปรึกษาฟรี

บริการนำเข้าคนต่างด้าวใหม่ ( New MOU )

บริการนำเข้าคนต่างด้าวที่ถูกกฏหมาย ( Return MOU )

ต่อวีซ่า ต่ออายุ 90วัน ทำประกันสังคม เอกสารครบวงจร

แจ้ง Passport บัตรชมพู ให้คนงานต่างด้าวดูแลทั้งก่อนและหลังส่งแรงงาน

ทำงานอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 100 %

ระบบออนไลน์ สะดวก ให้กับนายจ้าง

—————————————

รวดเร็ว ทันสมัย อย่างมืออาชีพ

ครบวงจรเรื่อง แรงงานต่างด้าว ต้อง GMG GROUP จะเป็นสัญชาติ พม่า ลาว กัมพูชา และ เวียดนาม หลากหลายงานต่าง ๆ ได้อย่างประสิทธิภาพ ทั้งดำเนินการเอกสาร ครบถ้วน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้บริการกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างเต็มที่

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

GMG GROUP หนึ่งในผู้นำด้านการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายแบบครบวงจร ดำเนินการเอกสาร ครบถ้วน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้บริการกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างเต็มที่

 

 

รวดเร็ว ทันสมัย อย่างมืออาชีพ

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม.เห็นชอบขยายเวลาแรงงานข้ามชาติที่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วอยู่ต่อและทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 68
และขยายเวลาให้แรงงาน MOU ครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67 พร้อมลดค่าวีซ่าเหลือ 500 บาท

วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ใน 3 ประเด็น
1.ให้แรงงานข้ามชาติตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว ดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด
เพื่ออยู่ต่อและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
2.ขยายเวลาให้แรงงาน MOU ที่วาระจ้างงานครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67
3.ลดค่าวีซ่า จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาท

นายจ้างสามารถจ้างแรงงานคนเดิมที่มีประสบการณ์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคำนึงถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานข้ามชาติให้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยสาระสำคัญที่ครม.เห็นชอบ มี 3 ประเด็น ดังนี้
1. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯ ต่อกรมการจัดหางานแล้ว ภายใน 31 ก.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 1,000,000 คน โดยต้องดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
2.ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงาน ตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 ธันวาคม 2566) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยระหว่างผ่อนผันให้นายจ้างขออนุญาตนำแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการผ่อนผัน เข้ามาทำงานตาม MOU และให้แรงงานเดินทางกลับประเทศต้นทางและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยในโอกาสแรกโดยไม่ต้องมีระยะเวลาพัก 30 วัน
3. ลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ครั้งละ 2,000 บาท เหลือ 500 บาท และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต
เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป จากครั้งละ 1,900 บาท เหลือครั้งละ 500 บาท ทั้งสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานตาม MOU และแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

 

ข้อมูลจาก : กรมการจัดหางาน

กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้

กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้

กฎหมายแรงงานต่างด้าวที่นายจ้างควรรู้

การขอใบอนุญาตทำงาน

กำหนดให้การขอใบอนุญาตทำงานในครั้งนี้เป็นการทำ MOU กรณีพิเศษ คือ แรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยไม่ต้องกลับไปประเทศต้นทาง และได้รับอนุญาตให้อยู่ในประเทศไทยได้ไม่เกิน 2 ปี โดยสามารถประทับตราขออยู่ต่อได้ครั้งละไม่เกิน 1 ปี สำหรับแรงงานต่างด้าวที่ไม่ต้องการต่ออายุใบอนุญาตจะต้องเดินทางกลับประเทศต้นทาง หากยังอยู่ต่อจะถือว่าทำผิดกฎหมาย มีโทษทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ดังนี้

● นายจ้าง: ปรับ 10,000 – 100,000/ลูกจ้าง 1 คน ถ้าพบว่าทำผิดครั้งที่สอง ปรับ 50,000 – 200,000/ลูกจ้าง 1 คน
จำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และห้ามนำเข้าแรงงานต่างด้าวเป็นเวลา 3 ปี

● ลูกจ้าง: ปรับ 5,000 – 50,000 บาท และถูกส่งกลับประเทศ รวมถึงห้ามขอใบอนุญาตทำงานเป็นเวลา 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้รับโทษ

การคุ้มครองลูกจ้าง

แรงงานต่างด้าวจะได้รับสิทธิคุ้มครองตามกฎหมายเหมือนกับแรงงานไทย เพื่อให้ลูกจ้างมีความมั่นคงในการทำงานและมีคุณภาพชีวิตที่ดี 

● ค่าแรงขั้นต่ำ
แรงงานต่างด้าวจะได้รับค่าแรงขั้นต่ำเทียบเท่ากับแรงงานไทย ซึ่งแต่ละจังหวัดมีอัตราค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกัน นายจ้างควรตรวจสอบข้อมูลให้ดี

ว่าจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำเป็นเท่าไหร่

● กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทน
หากนายจ้างไม่จ่ายค่าตอบแทนตามเวลา รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงิน ไม่จ่ายเงินกรณีเลิกสัญญาโดยไม่บอกล่วงหน้า ไม่จ่ายค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด หรือเงินชดเชยกรณีหยุดกิจการ นายจ้างต้องเสียดอกเบี้ยให้ลูกจ้างในระหว่างเวลาที่ผิดนัด 15% ต่อปี

● กรณีเปลี่ยนนายจ้าง
หากมีการเปลี่ยนตัวนายจ้างจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง และนายจ้างใหม่ต้องให้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่ลูกจ้างเคยได้รับจากนายจ้างเดิม

● กรณีบอกเลิกสัญญา
หากนายจ้างบอกเลิกสัญญาโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างที่ลูกจ้างควรจะได้รับตั้งแต่วันที่ให้ลูกจ้างออกจากงานจนถึงวันที่การเลิกสัญญาจ้างมีผล

● กรณีหยุดกิจการชั่วคราว
หากนายจ้างมีความจำเป็นที่ต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนนายจ้างหยุดกิจการ ตลอดระยะเวลาที่นายจ้างไม่ได้ให้ลูกจ้าง

● การลากิจ
ลูกจ้างมีสิทธิลากิจได้ปีละไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และจะได้รับค่าจ้างตามปกติหากลาไม่เกิน 3 วันทำงานในหนึ่งปี

● การลาคลอดบุตร
ลูกจ้างหญิงลาคลอดบุตรได้ไม่เกิน 98 วัน ซึ่งรวมถึงวันลาเพื่อตรวจครรภ์ก่อนคลอดบุตรด้วย โดยนายจ้างจ่ายเงินให้เท่ากับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน

● ความเท่าเทียมของลูกจ้างชายและหญิง
ลูกจ้างชายและหญิงต้องได้รับค่าจ้างในอัตราที่เท่ากัน รวมไปถึงค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุดและค่าล่วงเวลาในวันหยุด

หากงานที่ทำมีลักษณะ คุณภาพ และปริมาณเท่ากัน

ที่มา : กรมการจัดหางาน สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า