กรมการจัดหางาน รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน

กรมการจัดหางาน รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงาน

กรมการจัดหางาน🎉
รับสมัครทดสอบภาษาเกาหลีและทักษะการทำงานประเภทอุตสาหกรรมการผลิต🇰🇷
👥จำนวน 1,500 อัตรา
🧑‍🦳เพศชาย อายุระหว่าง 18 -39 ปี
📍ระหว่างวันที่ 27-28 กรกฎาคม 2567
👏สนใจ สมัครได้ที่เว็ปไซต์ toea.doe.go.th
🏢ศูนย์สอบมี 2 ศูนย์
ศูนย์สอบกรุงเทพมหานคร ไม่จำกัดจำนวนผู้สมัคร 🏢ศูนย์สอบจังหวัดอุดรธานี จำนวน 2,400 คน

ข้อมูล: กรมการจัดหางาน

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

วันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ 2/2561 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน  นางเพชรรัตน์ สินอวย  อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เป็นต้น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ บริเวณตลาดทะเลไทย เพื่อจัดเก็บข้อมูลเฉพาะแรงงานเมียนมา ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แรงงานเมียนมาที่ต้องการเปลี่ยนเอกสารประจำตัวเป็นหนังสือเดินทาง (กลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติหรือจัดทำทะเบียนประวัติในประเทศไทยที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport : TP) และเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI)) โดยทางการเมียนมาใช้คำว่า กลุ่มคน Function A และกลุ่มที่ 2 แรงงานเมียนมา ตาม MOU ที่ต้องการจัดทำเป็นหนังสือเดินทางฉบับใหม่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้กับแรงงานเมียนมาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานตาม MOU เมื่อวาระการจ้างงานครบ ๔ ปี แล้วโดยทางการเมียนมา ใช้คำว่ากลุ่มคน Function B โดยกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มจะต้องยื่นเอกสารตามที่ทางการเมียนมากำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงจะสามารถขอรับหนังสือเดินทางได้ที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทยหรือ ศูนย์ออกหนังสือเดินทางบริเวณชายแดนแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก, แม่สอด – เมียวดี และระนอง – เกาะสอง  โดยวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯคือ การเก็บข้อมูลของแรงงานเมียนมาที่ขอหนังสือเดินทาง ซึ่งจะเปิดดำเนินการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี เปิดทำงานวันจันทร์ – วันเสาร์ เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการไทยกำหนด ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. หรือจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาความเหมาะสมของประเทศต้นทางเพื่อกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศต้นทางเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทย โดยพิจารณาเห็นชอบให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยต้องเป็นคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศคู่ภาคีที่รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) หากปรากฏว่ามีกำลังแรงงานของคนต่างด้าวของประเทศคู่ภาคีไม่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว เห็นควรให้มีการพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศที่เหมาะสมเพิ่มเติม ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน จะนำเรื่องการเปิดศูนย์เพื่อเก็บข้อมูลแรงงานชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร และมาตรการในการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

พลเอก ประวิตรฯ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลนั้น ขณะนี้มีผลการนำเข้าแรงงานประมงตาม MOU จากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) ดังนี้ 1. นายจ้างจำนวน ๑,๒๔๔ ราย ยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานจำนวน ๑๔,๔๙๖ คน (เมียนมา ๘,๕๑๓ คน ลาว ๔๗๘ คน กัมพูชา ๕,๕๐๕ คน) 2. กระทรวงแรงงานจัดส่งเรื่องไปดำเนินการที่สถานทูต จำนวน ๙,๗๖๘ คน (เมียนมา ๔,๖๔๖ คน ลาว ๓๕๔ คน กัมพูชา ๔,๗๖๘ คน) 3. นายจ้างยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวจำนวน ๑,๙๓๒ คน (เมียนมา ๘๗ คน ลาว ๖๗ คน กัมพูชา ๑,๗๗๘ คน) ขณะที่การดำเนินมาตรการเร่งด่วนชั่วคราวในการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ซึ่งกรมประมงได้เปิดให้นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ – ๒๖ พฤศจิกายน 2561 ณ 22 จังหวัดชายทะเล มีผลการดำเนินการคือ นายจ้างมาแจ้งความต้องการ จำนวน ๗๕๔ ราย แจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ๑๖,๓๕๑ คน

ที่มา https://www.doe.go.th

รัฐมนตรีเดินหน้าหารือกำหนดงานห้ามคนต่างด้าวทำ

รัฐมนตรีเดินหน้าหารือกำหนดงานห้ามคนต่างด้าวทำ

วันที่ 27 ธันวาคม 2561 ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทูร อาคารกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) โดยมี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน พ.ต.ต.หญิง รมยง สุรกิจบรรหาร รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กรมประมง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กรมการปกครอง สำนักงบประมาณ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ว่า จากมติที่ประชุม คบต. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 โดยกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำไว้ 3 บัญชีคือ 1. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด จำนวน 28 งาน (บัญชีที่ 1)   2. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย จำนวน 3 งาน (บัญชีที่ 2) และ 3. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง จำนวน 8 งาน (บัญชีที่ 3) แต่ไม่ได้กำหนดให้งานกรรมกรเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ทำให้นายจ้างหรือสถานประกอบการในประเทศสามารถรับคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายจากทุกประเทศเข้ามาทำงานได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และไม่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้นายจ้างหรือสถานประกอบการเปลี่ยนวิธีการประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิมซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานคนไปสู่การบริหารจัดการ และนำเทคโนโลยีมาใช้แทนตามนโยบายของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0  การประชุมในวันนี้ เป็นการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณากำหนดงานกรรมกรเป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข ให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งชาติอื่น โดยเพิ่มเติมเป็นบัญชีสี่ท้ายร่างประกาศกระทรวงแรงงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่เสนอ และกำหนดจัดประชุมอีกภายใน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการมีจำนวน 33 คน มีอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอีก 28 หน่วยงาน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวต่อคณะกรรมการ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย รมว.แรงงาน กล่าว

เตือน คนหางาน ระวังถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรที่ แคนาดา

เตือน คนหางาน ระวังถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรที่ แคนาดา

เตือน คนหางาน ระวังถูกหลอกไปทำงานภาคเกษตรที่ แคนาดา กรมการจัดหางาน ประกาศเตือนคนหางานอย่าหลงเชื่อเฟสบุ๊คชักชวนให้ไปทำงานภาคเกษตรที่แคนาดา เนื่องจากแคนาดาไม่รับแรงงานต่างชาติประเภทไร้ทักษะเข้าทำงานแล้ว ย้ำระวังถูกหลอกเสียเงินฟรี และอาจต้องเสี่ยงภัยในต่างแดน

นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน แจ้งว่า กรมการจัดหางานได้ตรวจพบเฟสบุ๊ครายหนึ่งที่อ้างว่าอยู่ในเมืองโตรอนโต ประเทศแคนาดา ซึ่งได้โพสต์ข้อความชักชวนคนงานไทยที่มีประสบการณ์ด้านการทำงานในภาคเกษตรและกำลังทำงานอยู่ในประเทศอิสราเอลให้ไปทำงานแบบถาวรกับบริษัทที่มีชื่อเสียงรายหนึ่งในประเทศแคนาดา โดยระบุให้ผู้สนใจกรอกแบบฟอร์มการประเมินผู้สมัครงานจากลิงค์ที่อยู่ด้านล่างของเฟสบุ๊คดังกล่าว จากนั้นให้คนงานรอการติดต่อกลับจากตัวแทน หรือให้โทรสอบถาม ซึ่งเป็นหมายเลขโทรศัพท์ที่ขึ้นต้นด้วยหมายเลข 050 ซึ่งน่าจะเป็นเบอร์โทรที่ใช้ในต่างประเทศ  ทั้งนี้ จากการตรวจสอบพบว่าปัจจุบันประเทศแคนาดาไม่อนุญาตให้คนงานต่างชาติประเภทไร้ทักษะเข้าไปทำงานในประเทศแคนาดามานานแล้ว  ทั้งยังยกเลิกการออกวีซ่าให้แก่คนงานต่างชาติที่จะเข้าไปทำงานภาคเกษตร ยกเว้นคนงานต่างชาติที่ทำงานเก็บหนอนในฟาร์มเกษตรในประเทศแคนาดาอยู่ในปัจจุบัน  ดังนั้น การที่มีผู้กล่าวอ้างว่าสามารถช่วยเหลือให้เข้าไปทำงานภาคเกษตรแบบถาวรได้ จึงไม่น่าจะเป็นความจริงแต่อย่างใด

นางเพชรรัตน์ฯ กล่าวย้ำเตือนคนหางานและแรงงานไทยในอิสราเอล ว่า อย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้างหลอกว่าสามารถช่วยให้ไปทำงานประเภทไร้ทักษะในประเทศแคนาดาได้  เพราะอาจต้องสูญเสียทรัพย์สินและตกระกำลำบากอยู่ในต่างแดน อย่างไรก็ตาม หากประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ขอให้คิดอย่างรอบคอบ คำนึงถึงความคุ้มค่า และต้องไปโดยถูกต้องตามกฎหมาย โดยตรวจสอบข้อมูลของบริษัทก่อนตัดสินใจสมัครงาน  สอบถามข้อมูลหรือแจ้งเรื่องร้องทุกข์การหลอกลวงคนหางานได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือที่กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน โทร. 0 2245 6763 หรือโทรสายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน

ขอบคุณข้อมูลจาก :https://www.doe.go.th/

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า