ครอบครัว GMG Group กับกิจกรรมทำดีเพื่อสังคม ปี2 ร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับเด็กๆ บ้านทานตะวัน

ครอบครัว GMG Group กับกิจกรรมทำดีเพื่อสังคม ปี2 ร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับเด็กๆ บ้านทานตะวัน

ครอบครัว GMG Group กับกิจกรรมทำดีเพื่อสังคม ปี2 ร่วมบริจาคสิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็น ให้กับเด็กๆ บ้านทานตะวัน มูลนิธิเด็ก ถือเป็นกิจกรรมดีๆส่งท้ายปีกันครับ #gmgmou #จีเอ็มจีกรุ๊ฟ #gmggroup #gmgfamily    

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

เห็นชอบเปิด ศูนย์เก็บข้อมูลแรงงาน ชั่วคราวทางการเมียนมา ที่ สมุทรสาคร

วันที่ 3 ธันวาคม 2561 เวลา 10.00 น. พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ 2/2561 ณ ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน โดยมี พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน  นางเพชรรัตน์ สินอวย  อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงาน และหน่วยงานต่างๆ เข้าร่วมประชุม อาทิ กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการต่างประเทศ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ สภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย  เป็นต้น

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์จัดเก็บข้อมูลแรงงานเมียนมาชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ บริเวณตลาดทะเลไทย เพื่อจัดเก็บข้อมูลเฉพาะแรงงานเมียนมา ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 แรงงานเมียนมาที่ต้องการเปลี่ยนเอกสารประจำตัวเป็นหนังสือเดินทาง (กลุ่มที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติหรือจัดทำทะเบียนประวัติในประเทศไทยที่ถือหนังสือเดินทาง (Passport) หนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport : TP) และเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of Identity : CI)) โดยทางการเมียนมาใช้คำว่า กลุ่มคน Function A และกลุ่มที่ 2 แรงงานเมียนมา ตาม MOU ที่ต้องการจัดทำเป็นหนังสือเดินทางฉบับใหม่ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดขั้นตอนให้กับแรงงานเมียนมาที่ประสงค์จะกลับเข้ามาทำงานตาม MOU เมื่อวาระการจ้างงานครบ ๔ ปี แล้วโดยทางการเมียนมา ใช้คำว่ากลุ่มคน Function B โดยกลุ่มคนทั้งสองกลุ่มจะต้องยื่นเอกสารตามที่ทางการเมียนมากำหนด เมื่อผ่านการตรวจสอบแล้ว จึงจะสามารถขอรับหนังสือเดินทางได้ที่สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาประจำประเทศไทยหรือ ศูนย์ออกหนังสือเดินทางบริเวณชายแดนแม่สาย – ท่าขี้เหล็ก, แม่สอด – เมียวดี และระนอง – เกาะสอง  โดยวัตถุประสงค์ของศูนย์ฯคือ การเก็บข้อมูลของแรงงานเมียนมาที่ขอหนังสือเดินทาง ซึ่งจะเปิดดำเนินการชั่วคราวเป็นระยะเวลา 1 ปี เปิดทำงานวันจันทร์ – วันเสาร์ เว้นวันอาทิตย์ และวันหยุดราชการไทยกำหนด ตั้งแต่เวลา ๑๐.๐๐ – ๑๖.๐๐ น. หรือจนกว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จ และจะไม่มีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายอื่นใดทั้งสิ้น

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ได้พิจารณาความเหมาะสมของประเทศต้นทางเพื่อกำหนดให้คนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศต้นทางเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทย โดยพิจารณาเห็นชอบให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยต้องเป็นคนต่างด้าวที่มีสัญชาติของประเทศคู่ภาคีที่รัฐบาลไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) หากปรากฏว่ามีกำลังแรงงานของคนต่างด้าวของประเทศคู่ภาคีไม่เพียงพอต่อความต้องการแล้ว เห็นควรให้มีการพิจารณาจัดทำบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับประเทศที่เหมาะสมเพิ่มเติม ทั้งนี้ กระทรวงแรงงาน จะนำเรื่องการเปิดศูนย์เพื่อเก็บข้อมูลแรงงานชั่วคราวของทางการเมียนมา ณ จังหวัดสมุทรสาคร และมาตรการในการอนุญาตให้คนต่างด้าวที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานกรรมกรในประเทศไทยเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

พลเอก ประวิตรฯ กล่าวต่อว่า สำหรับความคืบหน้าการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลนั้น ขณะนี้มีผลการนำเข้าแรงงานประมงตาม MOU จากประเทศกัมพูชา ลาว เมียนมา (ข้อมูล ณ วันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑) ดังนี้ 1. นายจ้างจำนวน ๑,๒๔๔ ราย ยื่นคำร้องขอนำเข้าแรงงานจำนวน ๑๔,๔๙๖ คน (เมียนมา ๘,๕๑๓ คน ลาว ๔๗๘ คน กัมพูชา ๕,๕๐๕ คน) 2. กระทรวงแรงงานจัดส่งเรื่องไปดำเนินการที่สถานทูต จำนวน ๙,๗๖๘ คน (เมียนมา ๔,๖๔๖ คน ลาว ๓๕๔ คน กัมพูชา ๔,๗๖๘ คน) 3. นายจ้างยื่นขอรับใบอนุญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวจำนวน ๑,๙๓๒ คน (เมียนมา ๘๗ คน ลาว ๖๗ คน กัมพูชา ๑,๗๗๘ คน) ขณะที่การดำเนินมาตรการเร่งด่วนชั่วคราวในการออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ซึ่งกรมประมงได้เปิดให้นายจ้างแจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ตั้งแต่วันที่ ๑๕ – ๒๖ พฤศจิกายน 2561 ณ 22 จังหวัดชายทะเล มีผลการดำเนินการคือ นายจ้างมาแจ้งความต้องการ จำนวน ๗๕๔ ราย แจ้งความต้องการจ้างแรงงาน ๑๖,๓๕๑ คน

ที่มา https://www.doe.go.th

เตือนแรงงานไทย กรมการจัดหางาน ยังไม่เปิดรับสมัครไปทำงานเก็บผลไม้ป่าในสวีเดนและฟินแลนด์

เตือนแรงงานไทย กรมการจัดหางาน ยังไม่เปิดรับสมัครไปทำงานเก็บผลไม้ป่าในสวีเดนและฟินแลนด์

กรมการจัดหางาน ประกาศเตือนแรงงานไทย อย่าหลงเชื่อผู้ชักชวนไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ ในรอบปี 2562  ย้ำ!! ยังไม่ถึงฤดูกาลเปิดรับสมัคร

นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มีนโยบายเน้นหนักในการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานไทยถูกหลอกลวงและลักลอบไปทำงานต่างประเทศ โดยได้มอบหมายให้กรมการจัดหางานเฝ้าระวัง คุมเข้ม ตรวจสอบและสกัดกั้น เพื่อคุ้มครองคนหางานที่จะเดินทางไปทำงานต่างประเทศไม่ให้ถูกหลอกลวงจากสาย/นายหน้าเถื่อน ทั้งยังตรวจสอบเว็บไซต์ที่มีพฤติกรรมในการโฆษณาชักชวนคนหางานไปทำงานต่างประเทศ และใช้สายตรวจออนไลน์คอยตรวจสอบ เฝ้าระวังพฤติการณ์ของกลุ่มมิจฉาชีพอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิดจะดำเนินคดี และโพสต์ข้อความเตือนชี้แจงข้อเท็จจริงและข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการไปทำงานต่างประเทศไปยัง Facebook  ซึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ กรมการจัดหางานตรวจพบว่ามีผู้ชักชวนแรงงานไทยไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน และฟินแลนด์ โดยโพสต์ข้อความชักชวนแรงงานไทยผ่านทางสื่อโซเชียลมีเดีย  ดังนั้น กรมการจัดหางานจึงขอแจ้งให้ทราบว่า ฤดูกาลเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดน และฟินแลนด์จะอยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี  จึงอย่าหลงเชื่อผู้ที่ชักชวนไปทำงานเก็บผลไม้ป่าดังกล่าว  และขอแจ้งให้ทราบว่า  การไปทำงานเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดนและฟินแลนด์นั้นเป็นงานที่หนักและตรากตรำ เพราะสภาพภูมิประเทศในการเก็บผลไม้ป่าเป็นพื้นที่ลาดชันภูเขา บางครั้งต้องเดินทางเป็นระยะทางไกลในท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็นจัด บางครั้งมีปัญหาอากาศแปรปรวน ซึ่งค่าใช้จ่ายก่อนการเดินทางไปเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดนและฟินแลนด์ ประมาณ  60,000-70,000 บาทต่อคน  เช่น ค่าตั๋วเครื่องบินไป-กลับ เป็นต้น โดยกรมการจัดหางาน อยู่ระหว่างการเจรจา หารือกับ ทั้ง 2 ประเทศ เพื่อให้คนไทยได้รับการคุ้มครอง ดูแลมากที่สุด ตลอดจนจำนวนโควตาที่เหมาะสมที่คนไทยจะไปเก็บผลไม้ป่าดังกล่าว จึงขอให้คนหางานศึกษาข้อมูลการทำงานให้ถี่ถ้วนกับกรมการจัดหางานก่อนตัดสินใจเดินทาง

สำหรับการเดินทางไปทำงานเก็บผลไม้ป่าในประเทศสวีเดนจะดำเนินการในรูปแบบนายจ้างพาลูกจ้างไปทำงานในต่างประเทศ ขณะที่ฟินแลนด์จะดำเนินการในรูปแบบการแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง  โดยจะมีหนังสือเชิญจากบริษัทที่รับซื้อผลไม้ป่าในต่างประเทศเชิญแรงงานไทยไปทำงาน ซึ่งในปี 2561 ที่ผ่านมา กรมการจัดหางานได้รับโควตา เป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 7,400 คน เป็นโควตาในประเทศสวีเดน 4,900 คน และฟินแลนด์ จำนวน 2,500 คน กรมการจัดหางานสามารถจัดส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ป่า รวมทั้งสิ้นจำนวน  7,397 คน จำแนกเป็นจัดส่งไปเก็บผลไม้ป่าที่ประเทศสวีเดน จำนวน 4,903  คน และประเทศฟินแลนด์ จำนวน 2,494  คน หากคนหางานใดประสงค์จะไปทำงานต่างประเทศ ขอให้ติดต่อสอบถามได้ที่กองบริหารแรงงานไทยไปต่างประเทศ  กรมการจัดหางาน

หรือที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครพื้นที่ 1-10 หรือโทร.สายด่วนกระทรวงแรงงาน 1506 กด 2 กรมการจัดหางาน  อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าว

เตือนแรงงานไทย กรมการจัดหางาน ยังไม่เปิดรับสมัครไปทำงานเก็บผลไม้ป่าในสวีเดนและฟินแลนด์

เห็นชอบขยายเวลาออกหนังสือคนประจำเรือ จัดทำทะเบียนประวัติแรงงานต่างด้าวประมงกัมพูชา ลาว เมียนมา

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) มีมติเห็นชอบให้ แรงงานต่างด้าว สัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมาที่เข้ามาอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายหลังวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 สามารถจัดทำทะเบียนประวัติ และขอรับหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) เพื่อทำงานในกิจการประมงทะเลได้ พร้อมขยายระยะเวลาการดำเนินการออกไปอีก

วันที่ 7 มกราคม 2562 ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทุร ชั้น 5 อาคารกระทรวงแรงงาน พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) โดยมี พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน  นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น เข้าร่วมประชุม

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ว่า ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาการดำเนินการตามมาตรการเร่งด่วนชั่วคราวเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานประมงทะเลเพิ่มเติม โดยสืบเนื่องจากมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ โดยนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรือตามกฎหมายว่าด้วยการประมง ฉบับที่ 2 พ.ศ.2561 เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 ธันวาคม 2561 และกรมประมงได้ออกประกาศให้คนต่างด้าวจัดทำทะเบียนประวัติและยื่นคำขอรับ Seabook ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม 2561 – 31 มกราคม 2562 ขณะเดียวกัน กระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศเรื่อง การยกเว้นข้อห้ามมิให้คนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรเป็นการเฉพาะคนต่างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว และเมียนมา สามารถยื่นคำขอรับหนังสือคนประจำเรือเพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและทำงานกับนายจ้างในกิจการประมงทะเล ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2561

จากตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ได้กำหนดให้แรงงานต่างด้าวที่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเพื่อการทำงานดังกล่าว ต้องเป็นแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรก่อนหรือในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 และ (1) ระยะเวลาการอนุญาตสิ้นสุดลงแต่ไม่ได้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร (2) ระยะเวลาการอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรยังเหลืออยู่ (3) ไม่มีรอยตราประทับตรวจหนังสือเดินทางขาเข้าในหนังสือเดินทาง เอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง หรือหนังสือรับรองสถานะบุคคล แต่มีหลักฐานการจัดทำทะเบียนประวัติหรือบัตรประจำตัวตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร โดยที่ประชุมคณะอนุกรรมการประสานงานการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน (อกนร.) เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาดังนี้  1. มอบหมายกระทรวงมหาดไทย โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ครอบคลุมคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายหลังวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561  2.  ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) ออกไปอีก  3. ให้กระทรวงการต่างประเทศมอบอำนาจการตรวจลงตรา (Non Immigrant L-A) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

ดังนั้น เพื่อให้คนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ภายหลังวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 สามารถเข้าจัดทำทะเบียนประวัติ รับหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) ขอรับการตรวจลงตราและประทับตราอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง ซึ่งจะสามารถจัดหาแรงงานต่างด้าวที่มีเอกสารแสดงตนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาทำงานในกิจการประมงทะเลได้เพิ่มขึ้น ที่ประชุม กนร. ในวันนี้จึงมีมติให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาดังนี้ 1. มอบหมายกระทรวงมหาดไทยออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้ครอบคลุมคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายหลังวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561  2. ขอขยายระยะเวลาการดำเนินการออกหนังสือคนประจำเรือ (Seabook) ออกไปอีก และ 3. ให้กระทรวงการต่างประเทศ มอบอำนาจการตรวจลงตรา (Non Immigrant L-A) ให้สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง

พลตำรวจเอก อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน  เปิดเผยถึงผลความคืบหน้าการจัดทำหนังสือคนประจำเรือ ตามมาตรา 83 ที่ศูนย์ OSS ว่า ตั้งแต่วันที่ 15 พฤศจิกายน – 4 มกราคม  2562 มีนายจ้าง จำนวน 1,901 ราย มาแจ้งความต้องการแรงงานต่างด้าว จำนวนทั้งสิ้น 25,920 คน แรงงานต่างด้าวมาจดทะเบียนคนประจำเรือตั้งแต่วันที่ 3-4 มกราคม 2562 จำนวนทั้งสิ้น 1,813 คน เป็นเมียนมา 1,080 คน คิดเป็นร้อยละ 59.56 ลาว 49 คน คิดเป็นร้อยละ 2.70 และกัมพูชา 684 คน คิดเป็นร้อยละ 37.72 ของผู้ที่มาจัดทำ Seabook โดยจังหวัดที่มาดำเนินการ 5 ลำดับแรกได้แก่ 1. ปัตตานี 2. ชุมพร 3. ตราด 4. ระยอง 5. สมุทรสงคราม

รัฐมนตรีเดินหน้าหารือกำหนดงานห้ามคนต่างด้าวทำ

รัฐมนตรีเดินหน้าหารือกำหนดงานห้ามคนต่างด้าวทำ

วันที่ 27 ธันวาคม 2561 ที่ห้องประชุม ศ.นิคม จันทรวิทูร อาคารกระทรวงแรงงาน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) โดยมี นายจรินทร์ จักกะพาก ปลัดกระทรวงแรงงาน พ.ต.ต.หญิง รมยง สุรกิจบรรหาร รองปลัดกระทรวงแรงงาน นางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน กระทรวงกลาโหม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการต่างประเทศ กรมประมง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า  กรมการปกครอง สำนักงบประมาณ กองบัญชาการทหารสูงสุด กองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง เป็นต้น

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว (คบต.) ว่า จากมติที่ประชุม คบต. เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 โดยกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำไว้ 3 บัญชีคือ 1. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาด จำนวน 28 งาน (บัญชีที่ 1)   2. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานได้ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ หรือพันธกรณีที่ประเทศไทยมีความผูกพันภายใต้บทบัญญัติของกฎหมาย จำนวน 3 งาน (บัญชีที่ 2) และ 3. งานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไขให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง จำนวน 8 งาน (บัญชีที่ 3) แต่ไม่ได้กำหนดให้งานกรรมกรเป็นงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำ ทำให้นายจ้างหรือสถานประกอบการในประเทศสามารถรับคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมายจากทุกประเทศเข้ามาทำงานได้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ และไม่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมให้นายจ้างหรือสถานประกอบการเปลี่ยนวิธีการประกอบธุรกิจแบบดั้งเดิมซึ่งต้องพึ่งพาแรงงานคนไปสู่การบริหารจัดการ และนำเทคโนโลยีมาใช้แทนตามนโยบายของรัฐบาลไทยแลนด์ 4.0  การประชุมในวันนี้ เป็นการพิจารณาเพิ่มเติมเพื่อกำหนดงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานได้เสนอคณะกรรมการฯ พิจารณากำหนดงานกรรมกรเป็นงานห้ามคนต่างด้าวทำโดยมีเงื่อนไข ให้คนต่างด้าวทำงานนั้นได้ก็แต่เฉพาะงานที่มีนายจ้าง และได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมืองภายใต้ข้อตกลงว่าด้วยการจ้างแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งชาติอื่น โดยเพิ่มเติมเป็นบัญชีสี่ท้ายร่างประกาศกระทรวงแรงงาน ซึ่งที่ประชุมมีมติเห็นชอบในหลักการตามที่เสนอ และกำหนดจัดประชุมอีกภายใน 2 สัปดาห์

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ร่วมกันพิจารณาการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการนโยบายการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นอำนาจของคณะกรรมการในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 22 แห่งพระราชกำหนดการบริหารจัดการ การทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 โดยองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการมีจำนวน 33 คน มีอธิบดีกรมการจัดหางานเป็นประธานอนุกรรมการ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าวเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องอีก 28 หน่วยงาน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรอง และเสนอแนะแนวทางการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าวต่อคณะกรรมการ หรือตามที่คณะกรรมการมอบหมาย รมว.แรงงาน กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า