ไทย-ลาว ประชุมเห็นพ้องแก้ปัญหา แรงงานลาว ทำงานผิดกฎหมายในไทย พร้อมหนุนไทยเป็นประธานอาเซียนปี 62

ไทย-ลาว ประชุมเห็นพ้องแก้ปัญหา แรงงานลาว ทำงานผิดกฎหมายในไทย พร้อมหนุนไทยเป็นประธานอาเซียนปี 62

ไทย-ลาว ประชุมเห็นพ้องแก้ปัญหา แรงงานลาว ทำงานผิดกฎหมายในไทย พร้อมหนุนไทยเป็นประธานอาเซียนปี 62

 

ไทย-ลาว ชื่นมื่น ประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการไทย – ลาว ครั้งที่ 3 ณ นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว  สองฝ่ายพร้อมให้ความร่วมมือทุกด้าน ย้ำความสัมพันธ์มิตรภาพไทย-ลาว  เดินหน้าเร่งรัดการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไทย-ลาว เพื่อส่งเสริมด้านการค้าไทย-ลาว  พร้อมสนับสนุนไทยเป็นประธานอาเซียน ปี 2562 ขณะที่ รมว.แรงงาน เผยรัฐบาลไทย-ลาว เห็นชอบสานต่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงานลาวที่เข้าไปทำงานในไทยโดยผิดกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง  ยืนยันส่งเสริมพัฒนาฝีมือแรงงาน การจ้างงาน การคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม

วันที่ 14 ธันวาคม 2561  พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย พ.ต.ต.หญิง รมยง สุรกิจบรรหาร รองปลัดกระทรวงแรงงาน และนางเพชรรัตน์ สินอวย อธิบดีกรมการจัดหางาน ร่วมการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ  (Joint Cabinet Retreat : JCR) ไทย – ลาว ครั้งที่ 3 ณ นครหลวงเวียงจันทน์  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)  โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและประธานร่วมฝ่ายไทย  นายทองลุน สีสุลิด นายกรัฐมนตรี สปป.ลาว  เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนและประธานร่วมฝ่าย สปป.ลาว

พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังการประชุมร่วมนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการ  ไทย – ลาว ครั้งที่ 3 ว่า การประชุมในครั้งนี้ตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรี สปป.ลาว  โดยที่ประชุมได้ปรึกษาหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นต่าง ๆ เช่น ด้านการเมืองและความมั่นคง ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อขยายความสัมพันธ์ มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างสองประเทศเพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพ ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนร่วมกัน  ด้านการป้องกันและต่อต้านการค้ามนุษย์ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะสานต่อความร่วมมือตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว  ว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์ ลงนามไปเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2560 ที่แขวงหลวงพระบาง สปป.ลาว  ด้านเศรษฐกิจ เช่น  การเชื่อมโยงด้านคมนาคม-ขนส่งอย่างไร้รอยต่อ ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบให้เร่งรัดการพัฒนาเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมไทย-ลาว และเชื่อมต่อกับอนุภูมิภาคและภูมิภาค โดยการดำเนินการตาม  ACMECS Master Plan ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาถนน ทางรถไฟ สะพานข้ามแม่น้ำโขง ท่าอากาศยาน และการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง เพื่อส่งเสริมการค้า การลงทุน และการคมนาคมของประชาชนทั้งสองประเทศ เป็นต้น

สำหรับความร่วมมือด้านแรงงานนั้น ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะสานต่อความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาแรงงานลาวที่เข้าไปทำงานในไทยโดยผิดกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง ทั้งยังยืนยันที่จะส่งเสริมความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างกันทั้งในด้านการพัฒนาฝีมือแรงงาน การจ้างงาน การคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของทั้งสองประเทศ ตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงานระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่ง สปป.ลาว ฉบับลงนามเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2560 นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยและ สปป.ลาวได้ร่วมแสดงความยินดีที่ปี 2561 เป็นโอกาสครบรอบ 25 ปีของการก่อตั้งสมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพและสามคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคประชาชน  เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-ลาวในภาพรวม

รมว.แรงงาน กล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลของทั้งสองประเทศเห็นชอบร่วมกันให้มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ร่วมด้านการพัฒนาไทย-ลาว ปี 2562 – 2566 (ระยะ 5 ปี) ทั้งยังเห็นพ้องให้จัดการฉลองครบรอบ 70 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ลาว ในปี 2563 และ สปป.ลาวยังพร้อมสนับสนุนการเป็นประธานอาเซียนของราชอาณาจักรไทยในปี 2562 เพื่อยกระดับความร่วมมือภายในอาเซียนและระหว่างอาเซียนกับภาคีภายนอก อันจะช่วยให้อาเซียน ร่วมมือ ร่วมใจ ก้าวไกล ยั่งยืน ไปด้วยกัน ซึ่งจะนำผลการประชุมที่ตกลงในครั้งนี้ไปดำเนินการให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ที่มา :https://www.doe.go.th/

28 อาชีพที่แรงงานต่างด้าว ห้ามทำ

28 อาชีพที่แรงงานต่างด้าว ห้ามทำ

28 อาชีพที่แรงงานต่างด้าว ห้ามทำ มีอะไรบ้าง ลองดูกันเลย

โดยมี 28 อาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำเด็ดขาด ให้คนต่างด้วยทำได้ 12 อาชีพ 3 แบบ คือ แบบไม่มีเงื่อนไข 1 แบบ แบบมีเงื่อนไข 8 แบบ และและแบบมีเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน 3 อาชีพ

โดยในส่วนงานขายของหน้าร้าน ต่างด้าวทำได้ แค่เสิร์ฟและช่วยขายของ แต่ห้ามเก็บหรือทอนเงิน เฝ้าร้านแทนนายจ้างได้แค่ชั่วคราวและต้องมีนายจ้างอยู่ด้วย

ส่วนร้านเสริมสวย ทั้งร้านตัดผม และทำเล็บ ต่างด้าวทำได้แค่ปัดกวาดเช็ดถูภายในร้านและล้างเท้า มือได้เท่านั้น ห้ามตัดผม สระผม ตัดเล็บ ทาเล็บเด็ดขาด

กรมการจัดหางาน ปัญหาว่างงาน ไร้กังวล พร้อมให้บริการบัณฑิตจบใหม่หลายช่องทาง

กรมการจัดหางาน ปัญหาว่างงาน ไร้กังวล พร้อมให้บริการบัณฑิตจบใหม่หลายช่องทาง

กรมการจัดหางาน แจงสถานการณ์การว่างงานไม่น่าห่วง เพราะมีอัตราลดลงทั้งจากเดือนที่แล้ว และช่วงเดียวกันของปีก่อน ระบุอายุ 20-24 ปี เป็นช่วงที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด ซึ่งเป็นกลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา และเป็นการลาออกจากงานมากที่สุด พร้อมย้ำ ภาครัฐให้บริการรับสมัครงานหลากหลายช่องทาง

นางเพชรรัตน์ สินอวย รองปลัดกระทรวงแรงงาน รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า กระทรวงแรงงาน โดยท่าน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ไม่ได้นิ่งนอนใจ ถึงแม้จะพบว่า สถานการณ์การว่างงานไม่ได้เป็นที่น่ากังวล โดยได้สั่งการให้กรมการจัดหางานวางแนวทางช่วยเหลือให้ผู้ว่างงานหลายช่องทางทั้งศูนย์ที่นี่มีงานทำ (Job Ready Center) ที่ตั้งขึ้นเพื่อหางานให้กับผู้จบปริญญาตรี พร้อมทั้งให้คำปรึกษา พัฒนาทักษะฝีมือ แนะแนวอาชีพ  และจับคู่ตำแหน่งงาน (Matching)  ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการ 11 แห่งทั่วประเทศ คือ จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชลบุรี ระยอง สุราษฎร์ธานี สงขลา และกรุงเทพมหานคร หรือหางานผ่านทาง LINE JOBS ,Job fair, Mobile App รวมทั้งตู้งาน (Job Box) ที่ตั้งกระจายอยู่ทุกจุดทั่วประเทศ ได้เช่นกัน

นางเพชรรัตน์ฯ กล่าวเพิ่มเติมถึงอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 ที่มีคนว่างงานประมาณ 3.73 แสนคน ว่า ปัญหาการว่างงานนั้นไม่ได้รุนแรง และน่ากังวล เพราะหากนำอัตราการว่างงานในเดือนกันยายน 2561 มาเปรียบเทียบกับอัตราการว่างงานในช่วงเดียวกันของปี 2560 จะพบว่ามีคนว่างงานลดลงประมาณ 7 หมื่นคน คือ จาก 4.43 แสนคน เป็น 3.73 แสนคน  และที่ช่วงต้นปี 2561 มีอัตราการว่างงานสูงในร้อยละ 1.3-1.2  ก่อนที่จะปรับตัวลดลงมาทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 1.0 นั้น หากพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่า การว่างงานในเดือนกันยายน 2561 จะเป็นผู้ที่ไม่เคยทำงานมาก่อน 1.78 แสนคน และเป็นผู้ที่เคยทำงานมาก่อน 1.95 แสนคน ซึ่งเป็นผู้ว่างงานที่มาจากภาคการผลิตมากที่สุด รองลงมาเป็นภาคบริการ และภาคเกษตร โดยเหตุผลของการว่างงานพบว่า เป็นการลาออกจากงานมากที่สุดประมาณ 1 แสนคน รองลงมาเป็นนายจ้างปิดกิจการ ประมาณ 3 หมื่นคน และหมดสัญญาจ้างประมาณ 2 หมื่นคน ดังนั้น จากข้อมูลเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าปัญหาการว่างงานนั้นไม่ได้รุนแรง และน่ากังวล และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อนๆ จะพบว่า อัตราการว่างงานปี 2561 ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมามีแนวโน้มต่ำกว่าปี 2559 – 2560

สำหรับช่วงอายุที่มีผู้ว่างงานมากที่สุด คือ 20-24 ปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ผู้ว่างงานคือแรงงานกลุ่มที่เพิ่งจบการศึกษา โดยเฉพาะในระดับอุดมศึกษา โดยสาขาวิชาที่ว่างงานมากที่สุดคือพาณิชยศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 20.2 รองลงมา คือ ศึกษาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 17.1 และสังคมศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 11.7 โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่พร้อมจะทำงานแต่เหตุผลที่ไม่หางานทำเพราะหางานมาแล้วแต่หาไม่ได้ ร้อยละ 79.1 รองลงมาคือ ไม่สามารถหางานที่เหมาะสมได้ร้อยละ 14.6 สะท้อนให้เห็นว่าผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรีส่วนใหญ่ยังขาดคุณสมบัติตามที่ตลาดแรงงานต้องการ และส่วนหนึ่งว่างงานเพราะเลือกงาน ขณะที่ผู้ว่างงานในระดับปริญญาตรีอีกกลุ่มหนึ่งนั้น เป็นกลุ่มที่เคยทำงานมาก่อน จำนวน 22,525 คน หรือร้อยละ 19.59 ว่างงานมาแล้วโดยเฉลี่ย 1-2 เดือน หรือร้อยละ 29.14 โดยเคยทำงานในอาชีพเสมียนทั่วไปมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 13.69 รองลงมาคือ พนักงานขายในร้านค้า คิดเป็นร้อยละ 11.42 และผู้จัดการภัตตาคารและร้านอาหาร คิดเป็นร้อยละ 8.80 โดยสาเหตุที่ออกจากงานส่วนใหญ่มาจากการลาออกเอง คิดเป็นร้อยละ 59.45 รองลงมาคือ เลิก/หยุด/ปิดกิจการ คิดเป็นร้อยละ 8.97 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกระทรวงแรงงาน โทร.1506 กด 2 กรมการจัดหางาน นางเพชรรัตน์ฯ กล่าว

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า